วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การประเมินพัฒนาการเด็ก


      การประเมินผลพัฒนาการ หมายถึง ความรู้ความเข้าใจของครูที่มีต่อพัฒนาการ การเรียนรู้ ความสนใจและความต้องการของ เด็กแต่ละคน การประเมินผลถือเป็นกระบวนการที่สำคัญและจำเป็นมากในการจัดการเรียนการสอน

จุดมุ่งหมายการประเมินผลพัฒนาการ

     1. เพื่ออธิบายสภาพพัฒนาการ และความพร้อมในการเรียนของเด็ก

     2. เพื่อหาข้อมูลไปใช้กำหนดแนวทางในการพัฒนาเด็ก

วัตถุประสงค์ของการประเมินผลพัฒนาการ

     1. การประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัยเกิดขึ้นเนื่องจากความ ต้องการที่จะเข้าใจพัฒนาการและความก้าวหน้าของเด็กปฐมวัย

1.1 พัฒนาการและความก้าวหน้าของเด็ก ในแต่ละ ช่วงเวลา

1.2 ความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงของเด็กเกิดขึ้น อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา

1.3 บทบาทและสถานภาพในกลุ่มของเด็ก

     2. ข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัยจะมีประโยชน์ในการวางแผนการ เรียนการสอนและการสอนและการตัดสินใจต่างๆที่มีผลต่อเด็กปฐมวัย

     3. การประเมินผลเด็กปฐมวัยจะช่วยให้ทราบถึง เด็กซึ่งอาจต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ

     4. การประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัยมีจุดประสงค์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับเด็กโดยมีการรายงานผลและสื่อสารให้พ่อแม่ ผู้ปกครองและบุคคลที่เกี่ยวข้องทราบ การบันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบมีความต่อเนื่องและสม่ำเสมอ และข้อมูลไม่ควรมาจากความคาดหวังของครู หรือข้อสรุปกว้างๆ

หลักการประเมิน

1. การประเมินผลพัฒนาการเด็กต้องประเมินทุกด้าน

2. การประเมินผลถือเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง

3. ผลการประเมินเด็กแต่ละคนควรเก็บเป็นความลับ

4. การเลือกวิธีการประเมินผลต้องเลือกให้เหมาะสม

5. การเปรียบเทียบระดับพัฒนาการเด็กกับเกณฑ์

6. การเปรียบเทียบระดับพัฒนาการเด็กกับเกณฑ์

7. การเลือกพฤติกรรมที่จะประเมิน

เทคนิคการประเมินพัฒนาการเด็ก

     การสังเกตพฤติกรรมเด็ก การสัมภาษณ์ การเขียนบันทึกเกี่ยวกับตัวเด็ก แฟ้มผลงานเด็ก การใช้แบบประเมินผลพัฒนาการ การเขียนบันทึก และการทำสังคมมิติ 


การสังเกตพฤติกรรมเด็ก

     การประเมินพัฒนาการมีหลายรูปแบบด้วยกัน ตั้งแต่เราเรียนมาไม่ว่าจะมีกี่รูปแบบ เราว่าวิธีการประเมินพัฒนาการที่ได้ผลดีคือการประเมินด้วยการสังเกต

 การประเมินพัฒนาการด้วยการสังเกตพฤติกรรมเด็ก 

     การสังเกตอาจเกิดขึ้นเป็นกิจวัตรประจำวันอย่างไม่เป็นทางการ หรืออาจมีการสังเกตอย่างเป็นทางการหรืออย่างเป็นระบบ การสังเกตเด็กอย่างเป็นระบบเกิดขึ้นเนื่องจาก ในสภาพจริงการจัดชั้นเรียนหนึ่งๆ

องค์ประกอบของการบันทึกการสังเกตพฤติกรรม

     1. การบรรยายเหตุการณ์ สถานการณ์ที่เกิดขึ้น คือการบรรยายเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่กำลังดำเนินการอยู่อย่างตรงไปตรงมาให้มากที่สุด

     2. ความรู้สึกและความคิดเห็นส่วนตน

     3. การตีความ แปลความตลอดถึงการสรุปพฤติกรรมการเรียนรู้จากข้อมูลที่ได้จากการสังเกต

หลักในการบันทึกการสังเกต

     1. การบันทึกการสังเกตจำเป็นต้องมีการบันทึกสภาวะแวดล้อมและพฤติกรรมต่างๆของเด็กรวมตลอดถึงพฤติกรรมของคนรอบข้างเด็กด้วย

     2.การรายงานการบันทึกการสังเกตต้องมีการรายงาน ตามลำดับก่อนหลัง

     3.การบันทึกการสังเกต ควรบรรยายสิ่งที่เด็กทำได้มากกว่าสิ่งที่เด็กทำไม่ได้

ข้อดีของการบันทึกการสังเกต

     1.เด็กไม่จำเป็นต้องใช้ความสามารถในการอ่านและเขียน

     2. เด็กจะไม่รู้สึกว่าตนกำลังถูกสังเกต หรือถูกบันทึกข้อมูลอยู่

     3. กิจวัตรประจำวัน หรือตารางเวลาในการเรียน หรือการทำกิจกรรมของเด็กไม่มีการเปลี่ยนแปลง

     4. ช่วยให้ครูได้ทราบข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับพฤติกรรมบางอย่างของเด็ก

     5. เป็นวิธีการที่ได้รับการยอมรับจากนักการศึกษาปฐมวัยว่าเป็นวิธีที่เหมาะสม

ประเภทของการสังเกต

1.การสังเกตแบบบรรยาย      การบันทึกขณะสังเกต เป็นการบันทึกพฤติกรรมที่เกิดขึ้นอย่างละเอียดในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยผู้สังเกตเป็นผู้จดบันทึกขณะที่เกิดขึ้นจริง การจดบันทึกแบบนี้ให้ประโยชน์มากในแง่ที่สามารถสะท้อนให้รู้พฤติกรรมและ พัฒนาการ

2.ระเบียนพฤติการณ์     เป็นการบันทึกพฤติกรรมของเด็กตามที่สังเกตได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ โดยบันทึกหลังจากพฤติกรรมนั้นเกิดขึ้นและเป็นการบันทึกจากความทรงจำ

ข้อสำคัญของการสังเกต   
     จะต้องบันทึกตามพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริง โดยไม่แทรกข้อคิดเห็นหรือการประเมินของผู้สังเกต เนื้อหาของบันทึกพฤติกรรมแบบนี้มีส่วนประกอบสำคัญ คือ พฤติกรรมที่เกิดขึ้น เกิดขึ้นได้อย่างไร เกิดที่ไหน เมื่อไร มีการพูด หรือการกระทำอะไรเกิดขึ้นบ้าง


     ดังนั้นการประเมินพัฒนาการโดยการสังเกต คือ บันทึกการสังเกตพฤติกรรมเด็กอย่างเป็นระบบ  ในการประเมินผลพัฒนาการเด็กและถ้าผู้สังเกตมีความถี่ถ้วนในการสังเกตมากเท่าไร โอกาสที่ผู้สังเกตจะจัดการเรียนการสอนเพื่อสนองความต้องการของเด็กแต่ละคนก็ จะมีมากขึ้นเท่านั้น

พัฒนาการของเด็กปฐมวัย...

ตอนนี้เรากำลังเรียนเกี่ยวกับเรื่อง"พัฒนาการของเด็กปฐมวัย" เป็นเรื่องที่เราสนใจและคิดว่าเพื่อนๆ น่าจะสนใจ มาลองอ่านกันดูนะคะ



       พัฒนาการของเด็กวัยต่าง  จะมีความแตกต่างกัน ซึ่งนับได้ว่าเป็นลักษณะเฉพาะตามวัย ที่สามารถจำแนกให้เห็นเป็นลักษณะเด่นประจำวัยต่างๆ ได้ และพัฒนาการของเด็กปฐมวัยถือว่าเป็นช่วงที่มีความสำคัญมากสำหรับ การให้ความสำคัญกับการเจริญเติบโตและพัฒนาการในด้านต่างๆ 
     พัฒนาการมีอยู่ 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา (แต่ถ้าสำหรับเด็กแรกเกิดถึง 3 ปี จะเปลี่ยนจากด้านสังคมเป็นพัฒนาการทางภาษาค่ะ)


1.พัฒนาการทางกาย เด็กวัยนี้นับว่าเป็นวัยที่มีส่วนสูงและน้ำหนักเพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็วแต่จะขยายออกทางส่วนสูงมากกว่าด้านข้างกล้ามเนื้อและกระดูกจะเริ่มแข็งแรงขึ้น แต่กล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวยังเจริญไม่เต็มที่การประสานงานของอวัยวะต่าง  ยังไม่ดีพอจากการศึกษาของGesell และคนอื่นเด็กอายุ 3-5 ขวบ มีพัฒนาการทางกายแตกต่างกัน บางคนสามารถทรงตัวได้ดี วิ่งได้เร็วขึ้น ควบคุมการเดิน วิ่งให้ช้าลงและเร็วได้ กระโดดไกล ได้ เต้นและกายบริหารได้ตามจังหวะดนตรี การประสานงานของกล้ามเนื้อดีขึ้น

2. พัฒนาการทางอารมณ์ เด็กวัยนี้มักจะเป็นเด็กเจ้าอารมณ์ และจะแสดงอารมณ์ต่างๆ ออกมาอย่าง เปิดเผยและมีอิสระเต็มที่ เด็กวัยนี้มักมีความกลัวอย่างสุดขีดอิจฉาอย่างไม่มีเหตุผล โมโหร้าย การที่เด็กมีอารมณ์เช่นนี้อาจจะเป็นเพราะเด็กมีประสบการณ์กว้างขึ้นเพราะเงื่อนไขทางสังคมทั้งสังคมภายในบ้านจนกระทั่งถึงสังคมภายนอกบ้านเด็กเคยได้รับแต่ความรักความเอาใจใส่จากพ่อแม่และผู้ที่ใกล้ชิด ดังนั้นอารมณ์พื้นฐานของเด็กวัยนี้ คือ รัก โกรธ กลัว และมีความสุข

3. พัฒนาการทางสังคม คือการติดต่อสัมพันธ์ เด็กวัยนี้ได้เรียนรู้เข้าใจและใช้ภาษาได้ดีขึ้นพ่อแม่และผู้ที่อยู่ใกล้ชิดตลอดจนครูที่อยู่ในชั้นอนุบาล ได้อบรมสั่งสอนเพื่อให้เด็กเข้าใจถึงวัฒนธรรมค่านิยมและศีลธรรมทีละน้อย โดยเริ่มจากสิ่งที่ง่าย เช่น การพูดจาสุภาพ การเคารพกราบไหว้ ฯลฯ เพื่อให้เด็กเติบโตเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ดังนั้นเมื่อเด็กเข้าไปอยู่ในโรงเรียนอนุบาลจะรู้จักคบเพื่อนรู้จักการผ่อนปรน รู้จักอดทนในบางโอกาส รู้จักการให้และการรับ 

4. พัฒนาการทางสติปัญญา เด็กวัยนี้มีความสามารถในการใช้ภาษาได้อย่างดีเด็กจะเรียนรู้ ศัพท์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉลี่ยเด็กอายุ 3 ขวบ จะรู้จักศัพท์ประมาณ 3,000 คำ และเด็กสามารถใช้คำ วลี และประโยคในการแสดงบทบาทตามแบบอย่างโทรทัศน์ได้ รู้จักใช้ท่าทางประกอบคำพูดเด็ก 4 ขวบช่างซักช่างถามมักจะมีคำถามว่า “ทำไม” “อย่างไร” แต่ก็ไม่สนใจคำตอบและสามารถพูดประโยคยาวๆ ที่ต่อเนื่องกันได้ สามารถเล่านิทานสั้นๆ ให้จบได้ สำหรับเด็กวัย 5 ขวบ พัฒนาการทางภาษาสูงมากเด็กสามารถตอบคำถามตรงเป้าหมาย ชัดเจนและสั้น การซักถามน้อยลง แต่จะสนใจเฉพาะเรื่องไป 

     ดังนั้นพัฒนาการของเด็กปฐมวัย จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเด็กวัยนี้จะมีพัฒนาการที่รวดเร็วโดยเฉพาะพัฒนาการด้านร่างกาย แต่ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการทางด้านอะไรก็ย่อมีความสำคัญกับการเจริญเติบโต เพราะพัฒนาการจะเป็นฐานให้กับการพัฒนาในช่วงถัดๆไป


ความรู้น่าสนมากค่ะ คลิ๊กชมกันดูนะคะ

 
                                  http://www.youtube.com/watch?v=t1JaeioT1Kw

การเรียนปฐมวัยมันไม่ง่ายเลย

เรารู้กันไปแล้วนะคะว่า “ปฐมวัย” คืออะไร(เพื่อนไปอ่านได้ในโพสต์ “ปฐมวัย”คือ???นะคะ)

หัวใจของครูอนุบาล คือ การพัฒนาเด็กให้เหมาะสมตามวัย
หัวใจของการศึกษาปฐมวัย คือ การจัดประสบการณ์ให้เด็กได้รับประโยชน์มี่สูงสุด
การฝึกสอนมันไม่ง่ายเลย
        
     สำหรับใครที่คิดว่า การเรียนปฐมวัยเป็นเรื่องเด็กๆ ง่ายๆ และใครที่คิดว่าจะเรียนตามเพื่อน เราขอบอกว่า...คุณคิด “ผิด” อย่างมาก เพราะการเรียนปฐมวัยมันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยจริงๆ
     การเรียนในแต่ละสาขานั้นจะมีความยากที่แตกต่างกันไป มีความยากไม่เหมือนกัน เพราะหากว่าง่ายแล้วทำไมจึงต้องเรียนและหลายๆคนเมื่อเข้ามาเรียนแล้วกลับไม่สามารถเรียนได้เพราะหากเรียนแล้วไม่ชอบ ไม่ใช่ทางของเรา  และไม่สามารถอยู่ร่วมกับเด็กได้ มันก็ทำให้เราเสียไป
     
     จากที่เราได้เรียนสาขาการศึกษาปฐมวัย ตอนนี้เราอยู่ชั้นปีสามแล้ว การเรียนในสาขานี้ค่อนข้างยาก แต่เราก็พยายามตั้งใจในการเรียนเพื่อให้ได้รับความรู้ เพื่อพยายามในการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เพราะการศึกษาปฐมวัยนั้นจบไปจะต้องเป็นครูที่มีความสามารถในการสอนในการจัดประสบการณ์ สามารถถ่ายทอดความรู้อย่างเป็นลำดับขั้นตอน รวมถึงการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เด็กได้รับความรู้และความสนุกในการเรียนรู้กับครูผู้สอน
     การเรียนในสาขานี้ถ้าได้เรียนจริงๆ แล้วเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากเลยที่เดียว เพราะทำให้เรารู้ถึงทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวกับเด็ก และรู้ถึงพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วอย่างที่เราคาดไม่ถึงเลยที่เดียว ดังนั้นการเรียนนั้นยากทุกวิชา อยู่ที่การพยายามการขยัน การตั้งใจที่อยากจะเรียน ความตั้งใจที่อยากจะเป็นในสิ่งที่เรียนนั้นๆ
     
     การเลือกเรียนอะไรก็ตามควรเรียนในสิ่งที่ตนอยากเรียน ไม่ใช่เพาะเรียนตามเพื่อน หรือคิดว่าง่ายก็เลยเลือกเรียน หรือผู้ใดที่มีความคิดว่าการศึกษาปฐมวัยง่ายๆ หากง่ายก็คงไม่ได้เปิดสาขาเพื่อให้มีผู้ได้ศึกษาเพื่อนำความรู้ไปสอนเด็ก และการเรียนสาขานี้เป็นสาขาที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะพัฒนาการของเด็ก และทุกอย่างที่เกี่ยวกับตัวเด็ก ครูอนุบาลต้องมีความสำคัญในทุกเรื่องของตัวเด็ก เพราะครูอนุบาลจะปลูกฝั่งสอนในสิ่งที่ถูกต้อง ดูแลอบรมเลี้ยงดูควบคู่กับการเรียนการสอน 
 การดูแลพัฒนาการ และความเข้าใจเด็ก ครูอนุบาลจึงสำคัญกับเด็กมาก

ถ้าใครกำลังตัดสินใจลองวีดิโอนี้ดูนะคะ 

 
  
คลิ๊ก https://www.youtube.com/watch?v=ZuMb5909pwA

วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

"ปฐมวัย" คือ..?..

มีเพื่อนๆ หลายคนที่มักถามว่า "ปฐมวัย" คืออะไรเราไม่รู้จัก แล้วเรียนเกี่ยวกับอะไร???



     ตอนนี้เราเรียนสาขา การศึกษาปฐมวัยอยู่ เพื่อนๆ สมัยมัธยมมักถามเราบ่อยๆ ว่า "ปฐมวัยเรียนไรอ่ะ"

     ก่อนที่จะตอบว่าเรียนเกี่ยวกับอะไร เราก็ต้องบอกก่อนเลยว่า เด็กปฐมวัยก็คือเด็กอนุบาลนั่นแหละ แต่ถ้าจะให้แปลทางวิชาการ เด็กปฐมวัย ก็คือ เด็กวัยที่มีอายุตั้งแรกเกิดถึง 5 ปีแรกของชีวิต แต่ในต่างประเทศเด็กปฐมวัยคือเด็กๆ ที่มีอายุอยู่ในช่วงแรกเกิดถึง 8 ปีแรกของชีวิตนั่นเอง
     แล้วตกลง ปฐมวัยเรียนเกี่ยวกับอะไรกันแน่ ก็ต้องบอกไว้เลยว่า ต้องเรียนเกี่ยวกับเด็กในช่วงอายุแรกเกิดไปถึง 5 ปีอย่างแน่นอน โดยเฉพาะเรื่องพัฒนาการของเด็กปฐมวัยทั้งพัฒนาด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญาอย่างละเอียด เรียนเรื่องพื้นฐานทั้งหมดเกี่ยวกับความเป็นครู เช่น เรียนจิตวิทยาทั้งจิตความสำหรับครูและจิตวิทยาเด็ก(จบไปไม่ต้องกลัวนะจ๊ะ ถ้าไม่เป็นครู สามารถเป็นนักจิตวิทยาได้ด้วย #.#) ครูวิชาชีพ การพัฒนาหลักสูตร นวัตกรรมการศึกษา เป็นต้น และที่สำคัญต้องเรียนศิลปะสำหรับเด็ก การเล่น ทักษะทางสังคม(เราต้องมีถึงสองคนในร่างเดียวเลยค่ะ วิชานี้เพราะเราต้องคิดกิจกรรมที่เด็กจะทำ แต่เราต้องเป็นเด็กที่ต้องทำกิจกรรมเหมือนที่เด็กทำนั่นเอง)
     สรุป "ปฐมวัย" เรียนเรื่องราวเกี่ยวกับเด็กในช่วงอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 ปี เพื่อนฟังแล้วอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องง่ายๆ เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเด็กๆ แต่ใครบ้างจะรู้ว่า การเรียนปฐมวัยนั่นมันไม่ง่ายเลย เพราะอะไร??? เราจะเล่าต่อในโพสต์หน้านะคะ
ลูกศิษย์กลุ่มแรกค่ะ