วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การสังเกตพฤติกรรมเด็ก

     การประเมินพัฒนาการมีหลายรูปแบบด้วยกัน ตั้งแต่เราเรียนมาไม่ว่าจะมีกี่รูปแบบ เราว่าวิธีการประเมินพัฒนาการที่ได้ผลดีคือการประเมินด้วยการสังเกต

 การประเมินพัฒนาการด้วยการสังเกตพฤติกรรมเด็ก 

     การสังเกตอาจเกิดขึ้นเป็นกิจวัตรประจำวันอย่างไม่เป็นทางการ หรืออาจมีการสังเกตอย่างเป็นทางการหรืออย่างเป็นระบบ การสังเกตเด็กอย่างเป็นระบบเกิดขึ้นเนื่องจาก ในสภาพจริงการจัดชั้นเรียนหนึ่งๆ

องค์ประกอบของการบันทึกการสังเกตพฤติกรรม

     1. การบรรยายเหตุการณ์ สถานการณ์ที่เกิดขึ้น คือการบรรยายเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่กำลังดำเนินการอยู่อย่างตรงไปตรงมาให้มากที่สุด

     2. ความรู้สึกและความคิดเห็นส่วนตน

     3. การตีความ แปลความตลอดถึงการสรุปพฤติกรรมการเรียนรู้จากข้อมูลที่ได้จากการสังเกต

หลักในการบันทึกการสังเกต

     1. การบันทึกการสังเกตจำเป็นต้องมีการบันทึกสภาวะแวดล้อมและพฤติกรรมต่างๆของเด็กรวมตลอดถึงพฤติกรรมของคนรอบข้างเด็กด้วย

     2.การรายงานการบันทึกการสังเกตต้องมีการรายงาน ตามลำดับก่อนหลัง

     3.การบันทึกการสังเกต ควรบรรยายสิ่งที่เด็กทำได้มากกว่าสิ่งที่เด็กทำไม่ได้

ข้อดีของการบันทึกการสังเกต

     1.เด็กไม่จำเป็นต้องใช้ความสามารถในการอ่านและเขียน

     2. เด็กจะไม่รู้สึกว่าตนกำลังถูกสังเกต หรือถูกบันทึกข้อมูลอยู่

     3. กิจวัตรประจำวัน หรือตารางเวลาในการเรียน หรือการทำกิจกรรมของเด็กไม่มีการเปลี่ยนแปลง

     4. ช่วยให้ครูได้ทราบข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับพฤติกรรมบางอย่างของเด็ก

     5. เป็นวิธีการที่ได้รับการยอมรับจากนักการศึกษาปฐมวัยว่าเป็นวิธีที่เหมาะสม

ประเภทของการสังเกต

1.การสังเกตแบบบรรยาย      การบันทึกขณะสังเกต เป็นการบันทึกพฤติกรรมที่เกิดขึ้นอย่างละเอียดในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยผู้สังเกตเป็นผู้จดบันทึกขณะที่เกิดขึ้นจริง การจดบันทึกแบบนี้ให้ประโยชน์มากในแง่ที่สามารถสะท้อนให้รู้พฤติกรรมและ พัฒนาการ

2.ระเบียนพฤติการณ์     เป็นการบันทึกพฤติกรรมของเด็กตามที่สังเกตได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ โดยบันทึกหลังจากพฤติกรรมนั้นเกิดขึ้นและเป็นการบันทึกจากความทรงจำ

ข้อสำคัญของการสังเกต   
     จะต้องบันทึกตามพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริง โดยไม่แทรกข้อคิดเห็นหรือการประเมินของผู้สังเกต เนื้อหาของบันทึกพฤติกรรมแบบนี้มีส่วนประกอบสำคัญ คือ พฤติกรรมที่เกิดขึ้น เกิดขึ้นได้อย่างไร เกิดที่ไหน เมื่อไร มีการพูด หรือการกระทำอะไรเกิดขึ้นบ้าง


     ดังนั้นการประเมินพัฒนาการโดยการสังเกต คือ บันทึกการสังเกตพฤติกรรมเด็กอย่างเป็นระบบ  ในการประเมินผลพัฒนาการเด็กและถ้าผู้สังเกตมีความถี่ถ้วนในการสังเกตมากเท่าไร โอกาสที่ผู้สังเกตจะจัดการเรียนการสอนเพื่อสนองความต้องการของเด็กแต่ละคนก็ จะมีมากขึ้นเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น